วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

สำหรับคุณผู้อ่านที่รู้สึกว่า สัญญาณ Wi-Fi ของเราท์เตอร์ที่บ้านไม่แรงพอ ทดลองทำตาม 8 ขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้ดู บางทีอาจช่วยให้สํญญาณ Wi-Fi แรงขึ้นจาก 2 แท่งเป็น 4 - 5 แท่งเลยก็ได้ ที่สำคัญมันใช้แค่กระป๋องเบียร์ หรือกระป๋องเครื่องดืมน้ำอัดลมทั่วไปกับเครื่องไม้เครื่องมือไม่กี่ชิ้นเท่า นั้น นับเป็นไอเดียที่ฉลาดมากทีเดียว แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ว่าแล้วไปติดตามรายละเอียดการทำกันเลยดีกว่าครับ


1. ขั้นตอนแรกให้คุณเตรียมอุปกรณ์ และต้องใช้ ซึ่งประกอบด้วย กระป๋องน้ำอัดลมที่ทำจากอะลูมิเนียม กรรไกร คัทเตอร์คมๆ และดินน้ำมันกาว (Blu tack) ดังรูป


2. ทำความสะอาดกระป๋องด้วยน้ำสะอาดจนมั่นใจว่าไม่มีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ภายใน


3. ดึงวงแหวนที่ปากกระป๋องทิ้งไป


4. ใช้คัทเตอร์ตัดก้นกระป๋องออกไปดังรูป 


5. หลังจากนั้นนำคัทเตอร์มาตัดอีกด้านหนึ่งของกระป๋อง (ด้านที่ดึงวงแหวนออกไป) แต่ต้องตัดไม่ครบวงรอบ โดยเหลือช่วงที่ไม่ตัดให้ขาดออกใกล้ๆ กับช่องที่ใช้ปากดื่ม ข้อสังเกตคือ ระยะที่ตัดพยายามให้อยู่ใกล้ขอบกระป๋องมากที่สุดดังรูป


6. นำกรรไกรมาตัดข้างกระป๋องเป็นเส้นตรง โดยตำแหน่งที่ตัดจะอยู่ตรงข้ามกับด้านที่ติดขอบกระป๋อง


7. ค่อยๆ ใช้มือกางกระป๋องที่ตัดให้กว้างออกมาคล้ายๆ กับจานเรดาร์รับสัญญาณ


8. ติดดินน้ำมันกาวที่ด้านล่างองกระป๋อง แล้วนำกระป๋องไปสวมลงบนเสาอากาศของเราทเตอร์ผ่านทางช่องที่ใช้ปากดื่ม โดยดินน้ำมันกาวจะยึดปากกระป๋องเข้ากับด้านบนของเราท์เตอร์ จากนั้นจัดตำแหน่งให้เหมือนในรูปข้างล่างนี้


หลัง จากทำเสร็จแล้ว ทดลองเปิดเราท์เตอร์ให้ทำงาน แล้วสังเกตแท่งสัญญาณที่แสดงบนทาสก์บาร์ของ Windows บนโน้ตบุ๊คของคุณ โดยพยายามหันด้านทีสะท้อนสัญญาณของเสามาให้ตรงกับโน้ตบุ๊ค ลองดูว่า แท่งสัญญาณจะเพิ่มขั้นหรือไม่? ขอให้คุณผู้อ่านของเว็บไซต์ arip ที่่ลองทำตาม สามารถเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ได้แรงขึ้นดังที่ใจต้องการhttp://www.youtube.com/watch?v=OYAYerjLbZE&feature=player_embedded

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

นร.อินโดนีเซียยอมเสี่ยงตายไต่สะพานพังข้ามแม่น้ำเพื่อไปโรงเรียน

นร.อินโดนีเซียยอมเสี่ยงตายไต่สะพานพังข้ามแม่น้ำเพื่อไปโรงเรียน


 

นักเรียนชั้นประถมกลุ่มหนึ่งในจังหวัดบันเต็น กลัวไปเรียนหนังสือไม่ทัน ลงทุนเสี่ยงตายค่อยๆไต่สะพานข้ามแม่น้ำซิเบอรังที่ทำมาจากเชือกและแผ่นไม้ผุที่อยู่ในสภาพใกล้ถล่มลงมาเต็มที เพื่อเดินทางไปโรงเรียนเช่นนี้ทุกวัน การเดินทางยิ่งลำบากขึ้น เมื่อเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก กระทั่งกระแสน้ำเชี่ยวในแม่น้ำพัดพาสะพานจนได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเสาที่มีหน้าที่เป็นตัวร้อยเชือกพังลงข้างหนึ่ง ทำให้ทางเดินที่ทำจากแผ่นไม้เอียงจนเกือบตั้งฉาก ขณะที่อีกข้างหนึ่งยังคงอยู่ในสภาพปกติ ทำให้ผู้คนและเด็กๆที่ต้องสัญจรไปมา ต้องห้อยโหนกับเชือกจนน่าหวาดเสียว ต้องต้องเดินไต่อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ตนเองหล่นลงไปในแม่น้ำที่เชี่ยวกราก
 

นักเรียนกลุ่มนี้กล่าวว่า สะพานข้ามแม่น้ำที่ใช้สัญจรเป็นประจำเส้นนี้พังลงจากเหตุน้ำท่วม ซึ่งหากจะใช้วิธีการเดินไปโรงเรียนตามถนนก็คงไปเรียนหนังสือไม่ทันแน่ เนื่องจากต้องเดินอ้อมไปอีกเป็นระยะทางร่วม 5 กิโลเมตร หรือใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง
 


พ่อแม่และชาวบ้านที่เป็นห่วงสวัสดิภาพของหนูน้อย วอนทางการอินโดนีเซีย รีบเข้ามาซ่อมสะพานแห่งนี้โดยเร็ว สะพานข้ามแม่น้ำความยาว 162 เมตร เส้นนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2004 และเป็นเส้นทางคมนาคมเพียงอย่างเดียวที่เชื่อมระหว่างสองหมู่บ้าน